เพลง

สังเกตการสอน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภาค

1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ ต่างกัน เพราะการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถมนั้นเน้นที่การคิดคำนวน แต่สำหรับการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะสอนในขอบข่ายการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเชื่อมโยงเข้ากับชีวิตประจำวันของเด็กที่ทำกิจกรรมต่างๆให้ได้และให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองเพื่อให้เด็กได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเองผ่านกิจกรรมต่างๆที่คุณครูจัดให้และการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะต้องสอนผ่านกิจกรรมต่างๆเนื่องจากการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยสอนในรูปแบบของกิจกรรม

.........................................................................

2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ ผู้สอนควรศึกษาดังนี้
1.ขอบข่ายของหลักสูตรทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.พัฒนาการเด็ก
3.ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก
หลักการสอนคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์หรือการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การนับจำนวนเด็กชายหญิงที่มาโรงเรียน
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดีการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมวิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญย่อมรู้จักใช้สภาพการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และเห็นได้ขณะนั้นมาทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านจำนวน
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ การสอนความคิดรวบยอดเรื่องปริมาณ ขนาด และรูปร่างต่าง ๆ จะต้องอาศัยการสอนแบบค่อย ๆ สอดแทรกไปตามธรรมชาติ อาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุยแบบตะล่อมเข้าหา
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขเช่นในวันที่มีอากาศผิดปกติ ครูควรให้เด็กได้อ่านเทอร์โมมิเตอร์อันใหญ่ที่แขวนอยู่ในห้องเรียน และมีการบันทึกอุณหภูมิลงในปฏิทินด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในวันอื่น ๆ และใช้ในการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การนับเลขอย่างอื่น
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุงนอกจากนี้ครูบางคนอาจใช้วิธีจดบันทึกชื่อของเด็กไว้ใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ เพื่อให้ทราบว่าเด็กคนใดยังไม่มีความเข้าใจ และต้องจัดกิจกรรมเพิ่มเติมอีก
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียวการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวันในแต่ละคาบ ครูควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยากการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเลขของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการเล่น
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการใช้สัญลักษณ์ตัวเลข
15. ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์

........................................................................

3.จงเลือกและอธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
1. การนับ (counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2. การอนุรักษ์ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

...................................................................

4.จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ
2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้
4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง
5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย
8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น
9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์
10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้

...................................................................

5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ ผู้ปกครองสามารถส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ดังนี้
1.เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาขบคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง หรือเมื่ออยู่สนามเด็กเล่น ก็มักพบเห็นรูปทรงเรขาคณิตได้ในเครื่องเล่นทั่วไป ก็กำหนดเป็นโจทย์ให้เด็กทำความรู้จักกับรูปทรงต่างๆ คำนวณหาพื้นที่จากรูปทรงเหล่านั้น เช่น ลูกฟุตบอล ล้อรถจักกระยาน เป็นต้น
2.กิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดการประสบการณ์คณิตศาสตร์

สวัสดีค่ะวันนี้มาพบกันดิฉันจะได้บันทึกความรู้ทีได้จากการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งในการเรียนในภาคเรียนนี้ดิฉันก็รู้สึกว่าบางทีก็ไม่เข้าใจที่อาจารย์พูดแต่สุดท้ายเพื่อนก็ให้คำแนะนำจนสามารถเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์บอกได้และดิฉันเองมีความสุขในการเรียนและได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1).การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้ในหลายๆกิจกรรมเนื่องจากคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
2).ขอบข่ายการสอนคณิตศาสตร์ประกอบด้วย 12 เรื่องดังนี้ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท ๆ
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
3)ในการจัดประสบการณืคณิตศาสตร์จะต้องรู้พัฒนาการของเด็ก
4)ได้รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนการสอน
5)ได้รู้หลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่สามารถบรรยายหรืออธิบายได้เกี่ยวกับการเรียนการสอน
ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าดิฉันคงจะได้เกรดในรายวิชานี้ที่ดีนะค่ะ........ขอบคุณค่ะ

สาธิตการสอน

วันนี้กลุ่มของดิฉันได้เสนอการสอนในหน่วยของแมลง......ดิฉันเองไดสอนเกี่ยวกัยประโยชน์ของตัวแมลงเองว่ามีอะไรบ้าง อาจารย์ก็ให้เริ่มสอน พอสอนได้สักพักอาจารย์ก็ได้ให้คแนะนำเพิ่มเติมเพราะมีบางขั้นตอนที่ยังไม่ค่อยดีแต่เริ่อมต้นขึ้นได้ดี อาจารย์ให้คำแนะนำว่า ในการที่จะสอนเรื่องนี้เราต้องมีความรู้ในเรื่องของแมลงให้มาก ๆ เพื่อที่จะได้มาสอนเด็กได้อย่างถูกต้องและหลากหลาย และด้วยกลุ่มของดิฉันเป็นกลุ่มสุดท้าย แล้ววันนั้นก็ค่ำมากแล้วอาจจารย์จึงให้คำแนะนำได้ไม่มากเท่าไหรแต่ก็จากการสอนในวันนั้นก็ทำให้รูถึงหลักการสอนเด็กได้มากที่เดียวค่ะ..................

บันทึกการเข้าเรียน 4 กุมภาพันธ์ 2553

**_** สวัสดีค่ะแล้วก็มาพบกันอีกเช่นเคยค่ะ สำหรับการเรียนในวันนี้เป็นวันที่ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองตั้งใจเรียนมากกว่าทุกวันค่ะ เพราะอาจารย์ได้อธิบายถึงเนื้อหาและการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อย่างละเอียดเลยทีเดียว และนอกจากนั้นอาจารย์ยังสอนเนื้อหาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กนั้น เราควรให้เด็กได้มีประสบการณ์กับของจริง เพราะเด็กวัยนี้ยังมีประสบการณ์ไม่มากดังนั้นถ้าเราสอนโดยให้เด็กเรียนรู้จากของจริงจะทำให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจึงใช้รูปภาพ เพราะเด็กมีประสบการณ์มากแล้วจึงสามารถที่จะเรียนรู้จากภาพได้ และสุดท้ายคือเรียนรู้จากสัญลักษณ์เด็กที่เรียนรู้ได้จากสัญลักษณ์มักจะเป็นเด็กอนุบาล 3 ที่สามารถเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมได้ของจริง -->ภาพ-->สัญลักษณ์
การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ 1.ต้องรู้" พัฒนาการ"ของเด็ก
- เพื่อจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- เพื่อบูรณาการกิจกรรมต่างๆได้เหมาะสม
- เพื่อประเมินพัฒนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง
2.ต้องรู้"ความต้องการของเด็ก
3.ต้องรู้ธรรมชาติของเด็ก
4.วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำกับวัตถุ ( ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายสัมผัส และปฏิบัติจริง)-------->>
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
1.เพลงที่ใช้ต้องเขียนลงในสื่อการสอน
2.ถ้าขั้นนำนำโดยเพลง คำคล้องจอง นิทาน จะต้องสนทนาเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆก่อนจะข้ามเลยไม่ได้
และการเรียนการสอนในวันนี้ก็จบลงได้ด้วยดีค่ะ ถึงแม้ว่าจะเลิกช้ากว่ากำหนดแต่ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพราะได้ความรู้จากการเรียนในวันนี้อย่างมามายค่ะ

บันทึกการเข้าเรียน 28 มกราคม 2553



สวัสดีค่ะพบกันอีกแล้วนะค่..........ะสำหรับการเรียนในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงเรื่องที่จะต้องสอนในแต่ละหน่วย ซึ่งมีหน่วยแมลง(กลุ่มA )และหน่วยดอกไม้ (กลุ่ม Bซึ่งเป็นกลุ่มของพวกเราเองค่ะ) ซึ่งการเรียนในวันนี้รู้สึกไม่ค่อยดีเลยค่ะเพราะอาจารย์ถามอะไรพวกเราก็มักจะไม่ค่อยตอบเลยแต่อาจารย์ก็ยังอดทนสอนพวกเราและยังอธิบายเพื่อให้เข้าใจกันได้ทุกคน สำหรับเรื่องที่จะต้องสอนในชั้นต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
หน่วยแมลง
อนุบาล 1 แมลงที่เด็กๆรู้จัก ลักษณะของแมลง ประโยชน์ โทษ
อนุบาล 2 เจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้เลือเป็นยุงอนุบาล 3 ประเภทของแมลง(ซึ่งสอนแมลงปีกอ่อนและปีกแข็ง) การสำรวจแมลง วิธีการทำให้แมลงมาหาเรา
หน่วยดอกไม้
อนุบาล1 ดอกไม้ที่เด็กๆรู้จัก ลักษณะของดอกไม้ ประโยชน์ โทษ
อนุบาล2 เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้เลือก ดอกกุหลาบ
อนุบาล 3 ประเภทของดอกไม้ ( ดอกเดี่ยวและดอกช่อ) ไม้ดอกไม้ประดับ วิธีการปลูกดอกไม้ การดูแลรักษ่า ข้อควรระวังที่เกิดจากดอกไม้
หลังจากที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่จะต้องสอนเสร็จแล้วอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปเขียนแผน 1 สัปดาห์และส่งเมล์ให้อาจารย์ด้วยค่ะ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ก็จบลงได้ด้วยดีค่ะ

บันทึกการเข้าเรียน 21 มกราคม 2553

สวัสดีค่ะ......... วันนี้เป็นวันนี้ก็ได้พบกันอีกครั้งค่ะ ในวันนี้เราได้เรียนกันที่ห้องคอมค่ะ วันนี้อาจารย์ตรวจงานที่มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปทำมา แต่ก็มีหลายๆกลุ่มที่เปิดไม่ได้และหาไม่เจอบ้าง และหลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มเป็น 3 ช่วงอายุ คืออนุบาล 1 ( 3-4)อนุบาล 2 ( 4-5 )
อนุบาล3 (5-6)
และแบ่งเป็น 2สาย คือ A และB และกลุ่มของดิฉันจับได้กลุ่ม B อนุบาล 3 ซึ่งพวกเราได้เลือกที่สอนหน่วยดอกไม้ค่ะ ซึ่งรู้สึกว่ายากมากแต่ก็ต้องทำให้ดีที่สุดค่ะ สู้สู้และหลังจากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายให้ร้อยลูกปัดกับลวดกำมะหยี่ จำนวน 10 เส้น ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายจนนักศึกษาจะเข้าใจ แต่ดิฉันก็ไม่เข้าใจอยู่ดี แต่ก็ถามเพื่อนที่คิดว่าเข้าใจ ( แต่ก็ทำมาผิดทุกคน ) แต่ไม่เป็นไรเค่บอกว่าผิดเป็นครู....ค่ะ

ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย


สวัสดีค่ะวันนี้มาพบกันอีกครั้งในครั้งนี้จะขอนำเสนอบอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งได้เรียนกันในวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาและอาจารย์ได้ทบทวนให้ในวันที่ 21 มากราคม 2553 ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ค่ะ
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
สำหรับท่านที่มีเสนอแนะแนะเพิ่มเติมสามารถแนะนำได้นะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ